เมนู

ยังมานะนั้นให้ยกขึ้น ได้แก่ มารผู้ลามก ท่านได้ครอบงำมารนั้น ทำให้
หมดพยศ ด้วยการกำจัดพลแห่งมาร และก้าวล่วงวิสัยแห่งมารเสียได้. พระเถระ
เมื่อจะแสดงตน เป็นเหมือนคนอื่น พยากรณ์พระอรหัตผล โดยการอ้าง
พระอรหัตผลว่า ทำลายธงใหญ่ คือ กิเลสได้ด้วยปัญญา ดังนี้.
จบอรรกถาวิมลโกณฑัญญเถรคาถา

5. อุกเขปกตวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุกเขปกตวัจฉเถระ


[202] ได้ยินว่า พระอุกเขปกตวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้สงบดีแล้ว มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง
ย่อมกล่าวพระพุทธวจนะ ที่ได้เล่าเรียนมาหลายปี ใน
สำนักของอุกเขปกตวัจฉภิกษุแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย.


อรรถกถาอุกเขปกตวัจฉเถรคาถา


คาถาของท่านพระอุกเขปกตวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า อุกฺเขปกตฺ-
วจฺฉสฺส.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า แม้พระเถระนั้น ก็มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ ทั้งหลาย สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ
เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า

สิทธัตถะ ในกัปที่ 94 แต่ภัทรกัปนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ให้เสาแก่อุบาสก
ผู้สร้างเรือนยอดถวายพระศาสดา ขาดเสาอยู่ต้นหนึ่ง ได้กระทำหน้าที่ของผู้ร่วม
กิจการ ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก หมั่นกระทำบุญบ่อย ๆ
ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่ง
ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขามีนามที่ได้มาตามโคตรว่า วัจฉะ.
เขาฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้เฉพาะแล้วซึ่งศรัทธาบรรพชา
แล้ว อยู่ในอาวาสใกล้บ้าน แคว้นโกศล เล่าเรียนธรรม ในสำนักของภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้มาแล้ว ๆ. แต่ท่านไม่รู้ ปริเฉท (ขั้นตอน) ว่านี้เป็นวินัย นี้เป็น
พระสูตร นี้เป็นพระอภิธรรม วันหนึ่ง เรียนถามท่านพระธรรมเสนาบดีแล้ว
กำหนดพระพุทธพจน์ทั้งหมดตามขึ้นตอน แม้ในกาลก่อน แต่การสังคายนา
พระธรรม ท่านก็กำหนดชื่อแห่งปิฎกเป็นต้นไว้ ในพระปริยัติสัทธรรมที่เป็น
เหตุให้มีการเรียกชื่อภิกษุทั้งหลายว่า พระวินัยธรเป็นต้น ท่านเล่าเรียนสอบถาม
พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกอยู่ กำหนดรูปธรรมและอรูปธรรม ที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระไตรปิฎกนั้น เริ่มตั้งวิปัสสนา พิจารณาอยู่
บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
ได้มีการประชุมมหาสมาคม อุบาสกของพระผู้
มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ และอุบาสก
เหล่านั้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ มีความเชื่อเลื่อม
ใสพระตถาคต อุบาสกทั้งหมดมาประชุมปรึกษากัน
จะสร้างศาลาถวายแด่พระศาสดา ยังไม่ได้เสาอีกต้น
หนึ่ง จึงพากันเที่ยวหาอยู่ในป่าใหญ่ เราพบอุบาสก
เหล่านั้น ในป่าแล้ว จึงเข้าไปหาคณะอุบาสกในเวลา

นั้น เราประนมอัญชลีสอบถามคณะอุบาสก. อุบาสก
ผู้มีศีลเหล่านั้น อันเราถามแล้ว ตอบให้ทราบว่า เรา
ต้องการจะสร้างศาลา ยังหาเสาไม่ได้อีกต้นหนึ่ง ขอ
ท่านจงให้เสากะเราต้นหนึ่งเถิด เราตอบว่า ฉันจัก
ถวายแด่พระศาสดาเอง ฉันจักนำเสามาให้ ท่านทั้ง
หลายไม่ต้องขวนขวายหา อุบาสกเหล่านั้น เลื่อมใสมี
ใจยินดี มอบเสาให้เรา แล้วกลับจากป่ามาสู่เรือนของ
ตน ๆ เมื่อคณะอุบาสกไปแล้วไม่นาน เราได้ถวายเสา
ในกาลนั้น เรายินดี มีจิตร่าเริง ยกเสาขึ้นก่อนเขา
ด้วยจิตอันเสื่อมใสนั้น เราได้เกิดในวิมาน ภพของ
เราตั้งอยู่โดดเดี่ยว 7 ชั้น สูงตระหง่าน เมื่อกลอง
ดังกระหึ่มอยู่ เราบำเรออยู่ทุกเมื่อ ในกัปที่ 55 เรา
ได้เป็นพระราชา พระนามว่า ยโสธร แม้ในกาล
นั้น ภพของเรา ก็สูงสุด 7 ชั้น ประกอบด้วยเรือน
ยอดอันประเสริฐ มีเสาต้นหนึ่ง น่ารื่นรมย์ใจ ในกัป
ที่ 21 เราเป็นกษัตริย์ พระนามว่า อุเทน แม้ใน
กาลนั้น ภพของเราก็มี 7 ชั้น ประดับอย่างสวยงาม
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความเป็นเทวดา หรือความ
เป็นมนุษย์ เราย่อมเสวยผลนั้น ๆ ทั้งหมด นี้เป็นผล
แห่งการถวายเสาต้นเดียว. ในกัปที่ 94 แต่ภัทรกัปนี้
เราได้ถวายเสาใดในกาลนั้น ด้วยบุญกรรมนั้น เราไม่
รู้จักทุคติเสีย นี้เป็นผลแห่งการถวายเสาต้นเดียว. เรา
ตัดกิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในความขยันหมั่น
เพียร เพราะมุ่งกิจที่ตนทำไว้แล้ว อาศัยความอนุเคราะห์ คฤหัสถ์และบรรพชิต
ทั้งหลาย ที่เข้าไปสู่สำนักของตน ใคร่ครวญพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก
แล้วแสดงธรรม. และในวันหนึ่ง แสดงธรรมอยู่ เมื่อจะแสดงเปรียบตน
เหมือนคนอื่น ได้กล่าวคาถาว่า
ภิกษุสงบดีแล้ว มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง ย่อม
กล่าวพระพุทธวจนะ ที่ได้เล่าเรียนมาเป็นเวลาหลายปี
ในสำนักของอุกเขปกตวัจฉภิกษุแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺเขปกตวจฺฉสฺส ได้แก่ อันภิกษุ
ชื่อว่า อุกเขปวัจฉะ กระทำแล้ว อธิบายว่า อันภิกษุชื่อว่า วัจฉะ บรรจุ
ลงไว้ในปิฎกนั้น ๆ นั่นแหละ ตั้งอยู่แล้ว โดยที่ท่านกำหนดพิเคราะห์ส่วน
แห่งพระวินัย ส่วนแห่งพระสูตร และส่วนแห่งพระอภิธรรม ที่ตนแยก ๆ
เรียนในสำนักของภิกษุ แล้วสาธยายพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม
นั่นแหละ ตาม (จำนวน) ปริจเฉท. ก็บทว่า อุกฺเขปกตวจฺฉสฺส นี้เป็น
ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
บทว่า สงฺกลิตํ พหฺหิ วสฺเสหิ ความว่า ตั้งไว้ในหทัย (ท่อง-
จนขึ้นใจ) ด้วยสามารถแห่งการประมวลมาเป็นเวลาหลายปี. ปาฐะว่า สงฺขลิตํ
ดังนี้บ้าง. ได้แก่ท่องจนคล่องปาก โดยว่าติดต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันไป.
กระทำให้เป็นดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว. ปาฐะว่า ยํ พุทฺธวจนํ เป็นปาฐะที่
เหลือจากบาทคาถา. บทว่า ตํ ความว่า กล่าวคือแสดงพระปริยัติธรรมนั้น. .
บทว่า คหฏฺฐานํ ท่านกล่าวไว้ เพราะคฤหัสถ์เหล่านั้น มีจำนวนมากกว่า.
บทว่า สุนิสินฺโน ความว่า นั่งสงบไม่ไหวติงอยู่ในธรรมวินัยนั้น. อธิบายว่า

ไม่มุ่งหวังลาภและสักการะเป็นต้น ตั้งอยู่ในหัวข้อธรรม คือวิมุตตายตนะ
อย่างเดียวเท่านั้น แล้วกล่าว.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุฬารปาโมชฺโช ซึ่งมีความว่า ผู้มี
ความปราโมทย์อันโอฬาร อันเกิดแล้ว ด้วยสามารถแห่งความสุขในผลสมาบัติ
และด้วยสามารถแห่งความสุขในธรรม. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ มีอาทิว่า
ดูก่อนอาวุโส ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ฟังมา
แล้ว ตามที่เรียนมาแล้ว แก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ด้วยประการใด ๆ เธอย่อมได้ความแตกฉานในอรรถ
ในธรรมนั้น ย่อมได้ความปราโมทย์อันเขาไปประกอบ
แล้วด้วยธรรม ด้วยประการนั้น ๆ ดังนี้.

จบอรรถกถาอุกเขปตวัจฉเถรคาถา

6. เมฆิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเมฆิยเถระ


[203] ได้ยินว่า พระเมฆิยะได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
พระมหาวีรเจ้า ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ได้
สั่งสอนเรา เราฟังธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ใน
สำนักของพระองค์ เราได้บรรลุวิชชา 3 คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว.